HIGHLIGHT ACTIVITIES




MY COURSE คอร์สล่าสุด VIEW ALL
FAVORITE COURSE คอร์สโปรด VIEW ALL
NEW COURSE คอร์สใหม่ VIEW ALL
การตระหนักรู้เรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับผู้ใช้งานระบบและผู้ดูแลระบบ

วัตถุประสงค์ 1. มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ IT อย่างถูกต้องปลอดภัย 2. มีความรู้ความเข้าใจในภัยคุกคามต่าง ๆ ในโลกของเทคโนโลยี 3. มีความรู้ความเข้าใจในแนวทางการป้องกันภัยคุกคามทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 4. มีความรู้ความเข้าใจในหน้าที่ของตนเองในการใช้งานเทคโนโลยี

การสร้าง Visual Report By Power BI Desktop

"Microsoft Power BI Desktop เป็นโปรแกรมจาก Microsoft ที่สามารถช่วยวิเคราะห์ หรือช่วยสรุปผลข้อมูลจำนวนมากได้ไม่จำกัด จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Excel File, Microsoft Access Database, SQL Server เป็นต้น และสามารถสร้างรูปแบบรายงานเชิงวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพหรือ Business Intelligence (BI) ที่เหมาะสำหรับนำมาสร้างรายงานในรูปแบบ Interactive ได้อย่างรวดเร็ว Power BI Desktop นั้นมีรูปแบบการนำเสนอข้อมูลของกราฟให้เลือกมากมาย สามารถนำไปใช้งานได้ในรูปแบบ Real Time โดยแสดงผลผ่านเว็บไซต์ และอุปกรณ์ Mobile หรือ Tablet ได้อีกด้วยทำให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว พร้อมในการวางแผนการทำงาน หรือกำหนดกลยุทธ์ และตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำในทางธุรกิจทำให้คุณนำเสนอได้อย่างมืออาชีพ

สร้างงานนำเสนอให้โดนใจหัวหน้างาน (Excel : PivotTable and PivotChart)

สามารถใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมากด้วย PivotTable ซึ่งได้เจาะลึกการใช้เครื่องมือที่มีใน Excel ในการวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจัดเรียง (Sort) การใช้ฟิลเตอร์ (Filter) ในการกรองข้อมูล การสรุปข้อมูลแบบมีเงื่อนไข (Conditional Formatting) การวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบแผนภูมิ (Charts) การสรุปข้อมูล (PivotTable) และตัวอย่างการใช้โปรแกรมในการวิเคราะห์ข้อมูล อันเป็นพื้นฐานแนวความคิดและความรู้ในการพัฒนาและออกแบบฐานข้อมูลทางธุรกิจ พร้อมวิธีการปรับแต่งตาราง PivotTable และ PivotChart ให้เหมาะสมกับประเภทงานที่ต้องการนำเสนอ


Recommend โพสต์แนะนำ VIEW ALL

10 สมรรถนะที่ควรมี ทำงานที่ไหนก็ปัง

ในการทำงานนอกจาก Skill หรือทักษะในวิชาชีพของตนเองแล้ว ยังมีอีก 10 สมรรถนะที่จะทำให้การทำงานของเรานั้นโดดเด่นไม่แพ้ใครในองค์กร สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการทำงานที่ว่านั้น ได้แก่

สมรรถนะที่ 1 ความสามารถในการจัดการปัญหาบนฐานการคิด (Thinking-based solution – TBS) 

ความสามารถในการประยุกต์ใช้วิธีคิดอย่างเป็นระบบเพื่อตีความและทำความเข้าใจข้อมูล/สถานการณ์ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงแนวคิดหรือข้อมูลในวิถีทางใหม่ๆ หรือการเชื่อมโยงไปกับสิ่งที่ไม่มีความเกี่ยวข้องหรือคุ้นเคยเลยเพื่อสร้างไอเดียใหม่หรือการทำงานรูปแบบใหม่ อันจะเป็นการพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ และสามารถต่อยอดไปสู่การสร้างโอกาสใหม่ๆ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานได้

สมรรถนะที่ 2 ความสามารถในการระบุโอกาสที่สร้างคุณค่าให้กับองค์กร (Spotting opportunities for Valuing Ideas – SPOP)

ความสามารถในการวิเคราะห์ ประเมิน และระบุโอกาสทางธุรกิจ โดยมุ่งเป้าบนความท้าทายในการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรขององค์กรได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถวิเคราะห์และนำเสนอคุณค่าทางธุรกิจที่สามารถรับมือกับทิศทางการเปลี่ยนแปลง ความท้าทายของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ตลอดจนสภาพปัญหาและความต้องการของตลาดและกลุ่มที่คาดว่าจะเป็นลูกค้า

สมรรถนะที่ 3 ความสามารถในการมีอิทธิพลทางความคิด (Influencing and leading to goals – ILG)

ความสามารถในการสื่อสารเพื่อจูงใจและมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่น อันจะเป็นการนำพาไปสู่เป้าหมายทางการสื่อสารที่ต้องการ ผ่านการใช้ทักษะการจูงใจเพื่อเปลี่ยนจากคนที่ไม่รู้จักมาเป็นคนรู้จัก ช่วยเหลือ หรือขับเคลื่อนเป้าหมายขององค์กร และใช้ทักษะการสื่อสารแบบมีเป้าหมายเพื่อสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนสามารถประเมินและส่งเสริมการทำงานของทีมเพื่อตอบสนองความสำเร็จตามเป้าหมายของงาน/องค์กรได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

สมรรถนะที่ 4 ความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ทีไม่แน่นอน (Dealing with risk and ambiguity – DRAB)

ความสามารถในการรับมือภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน คลุมเครือและมีความเสี่ยงในการทำธุรกิจ และสามารถยืนหยัดที่จะเดินหน้าเพื่อความสำเร็จขององค์กรเป็นสำคัญ

 

สมรรถนะที่ 5 ความตั้งใจใฝ่รู้เพื่อการพัฒนางาน (Willingness to Learn – WLL) 

ความสามารถในการแสวงหาโอกาสที่จะเพิ่มพูนความรู้และทักษะของตนเองอย่างต่อเนื่อง และเข้าถึงความรู้หรือทักษะใหม่ๆได้อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาตนเองในการก้าวสู่ความสำเร็จในอาชีพ สร้างความมั่นใจให้กับตนเอง ตลอดจนช่วยเหลือผู้อื่นในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพเพื่อสร้างความสำเร็จตามเป้าหมายในการทำงานเพื่อความสำเร็จขององค์กร

สมรรถนะที่ 6 ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว (Flexibility & Adaptability Behavior – FLAD)

ความสามารถในการทำงานกับคนที่มีความหลากหลาย โดยเข้าใจและยอมรับในความแตกต่าง ข้อตกลงและความสนใจของกลุ่มคนทำงานที่แตกต่างกันได้ รวมทั้งสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของวิทยาการใหม่ๆ และสามารถนำสิ่งใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อตอบสนองเป้าหมายขององค์กรได้และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

สมรรถนะที่ 7 ความตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility – SCR) 

บุคคลต้องมีความตระหนักในการกระทำของตนที่ส่งผลต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานที่ตอบสนองต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้

สมรรถนะที่ 8 ความฉลาดรู้ทางสารสนเทศ (Information literacy – INFOL)

ความสามารถในการอ่านข้อมูลเชิงสารสนเทศ การทำความเข้าใจความหมายของข้อมูล การทำงานกับข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำข้อมูลเชิงสารสนเทศ ไปใช้ประโยชน์ในองค์กรธุรกิจ

สมรรถนะที่ 9 ความฉลาดรู้ทางดิจิทัล (Digital literacy – DGTL)  

ความสามารถในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์เพื่อสร้าง ประเมิน และแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด

สมรรถนะที่ 10 การทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างชาญฉลาด (Interpersonal savvy – IPS)

ความสามารถในการจัดการอารมณ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ตระหนักถึงคุณค่าของทีมงาน และรู้จักใช้ความสามารถในการเข้าใจคนอื่นเพื่อแสดงออกหรือสื่อสารประเด็นต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนเมื่อเข้าไปอยู่สถานการณ์ต่าง ๆ ในสังคมหรือกลุ่มคนก็จะสามารถสร้างความประทับใจและเอาตัวรอดได้อย่างกลมกลืนหรือรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับกลุ่มได้อย่างไม่ต้องใช้ความพยายามมาก

 

สมรรถนะคือสิ่งที่ฝึกฝนได้ ยิ่งฝึกฝนเป็นประจำ ก็จะก่อให้เกิดความชำนาญและสามารถนำมาใช้ในงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หวังว่าสมรรถนะทั้ง 10 ด้าน ที่เรานำมาฝากนี้ จะช่วยให้คุณทำงานได้อย่างมั่นใจ สามารถบริหารจัดการชีวิตได้อย่างลงตัวและมีความสุข


IQ และ EQ ไม่เพียงพอคนยุคใหม่ต้องมี “AQ”

คนยุคใหม่ IQ และ EQ อาจยังไม่พอ จำเป็นจะต้องมี “AQ” เข้ามาเสริมด้วย

ในยุคนี้ที่ทุกอย่างเกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว จนบางคนไม่สามารถตั้งตัวได้ AQ ก็ถูกพูดถึงกันอย่างจริงจัง และการพูดถึงครั้งนี้ AQ ถูกมองเป็นปัจจัยสำคัญที่จะมีบทบาทต่อการเติบโตทางหน้าที่การงานหรือการทำให้บริษัทสามารถอยู่รอดได้

ดังนั้นนอกจาก IQ (ทักษะด้านความรู้) และ EQ (อารมณ์) “AQ” ก็ถือเป็นทักษะที่จำเป็นมาก ๆ

AQ คืออะไร?

AQ หรือ Adversity Quotient คือความสามารถในการฟันฝ่าปัญหาอุปสรรค ความฉลาดในการแก้ไขปัญหา มีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวในการเผชิญปัญหาได้ดี และมีความพยายามหาหนทางแก้ไขปัญหาอย่างไม่ท้อถอย การเอาชนะอุปสรรคเพื่อบรรลุเป้าหมายในที่สุด ความสามารถในการตอบสนองต่อปัญหาอุปสรรคนั้น มีทั้งความอดทนต่อความเจ็บปวด ทั้งด้านความยากลำบากทางกาย ความอดกลั้นทางด้านจิตใจ และจิตวิญญาณ ที่สามารถเผชิญและเอาชนะเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและไม่มีความแน่นอน ด้วยคุณสมบัติของ AQ จะช่วยให้ทุกคนมีศักยภาพในการดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

พัฒนา AQ ง่าย ๆ ได้ด้วยตัวเอง

ในหนังสือ The Oz Principle ที่เขียนโดย Roger Connors, Craig Hickman และ Tom Smith ได้นำเสนอโมเดลที่ชื่อว่า Steps to Accountability ไว้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนา AQ ไว้  4 ขั้นตอน ดังนี้

1. See It - การฝึกตนให้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการปรับตัว ก็คือคุณต้องประเมินถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้วยการค้นคว้าและวิเคราะห์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าข้อสรุปที่ได้จากการ "เล็งเห็น” ในครั้งนี้จะน่าพอใจหรือไม่ ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับมัน

2. Own It - การยอมรับในการเปลี่ยนแปลงที่อาจนำมาซึ่งโอกาส ความท้าทาย หรือแม้กระทั่งปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสู่ความล้มเหลว การเล็งเห็นและยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงจะช่วยให้คุณเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น รู้ว่าจะต้องปรับแก้อะไรอย่างไรตรงจุดไหนอย่างมีประสิทธิภาพ

3. Solve It - การร่างแผนเพื่อนำสู่การปฏิบัติ ด้วยการคิดหาหนทางการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นจะต้องหาวิธีการมากมายเพื่อมารับมือกับการเปลี่ยนแปลงเสมอไป แต่หัวใจสำคัญคือคิดให้ต่างอย่างสร้างสรรค์

4. Do It - การตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลง การยอมรับถึงความจำเป็นในการปรับตัว การเตรียมตัวรับมือกับมัน ทั้งหมดนี้ไม่สามารถทำให้คุณปรับตัวได้เลยหากปราศจากการลงมือทำ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของ Steps to Accountability ที่จะช่วยให้คุณปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้

ลองสำรวจตัวเองกันนะว่าคุณมี AQ แล้วรึยัง หากยังไม่มี มาเริ่มพัฒนาทักษะ AQ ให้กับตัวเองกันเลย ส่วนใครที่มีทักษะนี้แล้วก็สามารถพัฒนา AQ เพิ่มขึ้น เพื่อให้มีความพร้อมรับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาได้เช่นกัน

ขอบคุณที่มาจาก : 

https://www.inc.com/partners-in-leadership/4-steps-to-develop-your-aq-and-make-change-happen.html

https://www.esquiremag.ph/long-reads/what-is-adversity-quotient-a00293-20191209


เคล็ดลับเพื่อชีวิตที่สมดุล ด้วยสูตร “8:8:8"

เราทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่หลายคนมักบ่นว่าไม่มีเวลา! ทำงานไม่ทัน! มาบริการจัดการเวลาเพื่อสร้างสมดุลให้กับชีวิต เพราะชีวิตเราไม่ได้มีแต่งานเพียงอย่างเดียว มาแบ่งเวลาดูแลตัวเอง และคนที่เรารักด้วยสูตร “8:8:8” กัน

สูตร “8:8:8” เกิดขึ้นมานานนับร้อยปีแล้ว ตั้งแต่สมัยปี ค.ศ.1810 โดยผู้ที่คิดค้นหลักการนี้ขึ้นมาก็คือ โรเบริ์ต โอเวน (Robert Owen) นักเศรษฐศาสตร์และนักปฏิรูปทางสังคมชาวอังกฤษ ซึ่งกลายมาเป็นมาตรฐานของการสร้างสมดุลให้กับชีวิตตลอดจนการแบ่งเวลาในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมาจนถึงปัจจุบัน

สูตร “8:8:8” เป็นการแบ่งจำนวน 24 ชั่วโมงของ 1 วัน ออกเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กันคือ

8 ชั่วโมงแรก: อยู่กับงานให้เต็มที่ (Work Smart) เป็นช่วงเวลาที่เราใช้สำหรับการทำงาน ซึ่งในแต่ละวันเราควรตั้งเป้าหมายและจัดลำดับความสำคัญของงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและทำงานอย่างเต็มที่ แต่ก็ควรหาเวลาพักเบรกระหว่างทำงานด้วย เช่น 1 ชั่วโมง พัก 5 นาที ไปเข้าห้องน้ำ เดินเล่น ฟังเพลง เพื่อลดความเครียดในการทำงาน

8 ชั่วโมงที่สอง: ดูแลตัวเองและครอบครัว (Quality Time) เป็นช่วงเวลาที่เราจะได้ทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของตนเอง พูดคุยทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว ออกกำลังกาย ออกไปท่องเที่ยว พบปะเพื่อฝูง หรือทำงานอดิเรก

8 ชั่วโมงที่สาม: พักผ่อนให้เพียงพอ (Live Well) เป็นช่วงเวลาสำหรับการพักผ่อนและการนอน เพราะสุขภาพคนเราจะดีได้ ต้องมีการนอนหลับให้เพียงพอไม่น้อยกว่า 7 – 8 ชั่วโมง การนอนที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายจะส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพดีทั้งในแง่ของการฟื้นฟูพละกำลัง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ โดยเฉพาะในเรื่องการทำงานของฮอร์โมนที่จะควบคุมการทำงานของร่างกาย และยังช่วยในแง่ของการเผาผลาญพลังงานที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับอีกด้วย

สูตรการบริหารเวลา “8:8:8” จะช่วยให้เราจัดสรรเวลาในด้านต่าง ๆ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถที่จะยืดหยุ่นเวลาได้ตามไลฟ์สไตล์ของเรา ซึ่งทางที่ดีที่สุดควรให้แต่ละด้านมีเวลาเท่า ๆ กัน และเมื่อเราจัดการเวลาได้ดีแล้ว ชีวิตของเราก็จะสมดุล

Popular โพสต์สำคัญ VIEW ALL

เคล็ดลับเพื่อชีวิตที่สมดุล ด้วยสูตร “8:8:8"

เราทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่หลายคนมักบ่นว่าไม่มีเวลา! ทำงานไม่ทัน! มาบริการจัดการเวลาเพื่อสร้างสมดุลให้กับชีวิต เพราะชีวิตเราไม่ได้มีแต่งานเพียงอย่างเดียว มาแบ่งเวลาดูแลตัวเอง และคนที่เรารักด้วยสูตร “8:8:8” กัน

สูตร “8:8:8” เกิดขึ้นมานานนับร้อยปีแล้ว ตั้งแต่สมัยปี ค.ศ.1810 โดยผู้ที่คิดค้นหลักการนี้ขึ้นมาก็คือ โรเบริ์ต โอเวน (Robert Owen) นักเศรษฐศาสตร์และนักปฏิรูปทางสังคมชาวอังกฤษ ซึ่งกลายมาเป็นมาตรฐานของการสร้างสมดุลให้กับชีวิตตลอดจนการแบ่งเวลาในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมาจนถึงปัจจุบัน

สูตร “8:8:8” เป็นการแบ่งจำนวน 24 ชั่วโมงของ 1 วัน ออกเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กันคือ

8 ชั่วโมงแรก: อยู่กับงานให้เต็มที่ (Work Smart) เป็นช่วงเวลาที่เราใช้สำหรับการทำงาน ซึ่งในแต่ละวันเราควรตั้งเป้าหมายและจัดลำดับความสำคัญของงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและทำงานอย่างเต็มที่ แต่ก็ควรหาเวลาพักเบรกระหว่างทำงานด้วย เช่น 1 ชั่วโมง พัก 5 นาที ไปเข้าห้องน้ำ เดินเล่น ฟังเพลง เพื่อลดความเครียดในการทำงาน

8 ชั่วโมงที่สอง: ดูแลตัวเองและครอบครัว (Quality Time) เป็นช่วงเวลาที่เราจะได้ทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของตนเอง พูดคุยทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว ออกกำลังกาย ออกไปท่องเที่ยว พบปะเพื่อฝูง หรือทำงานอดิเรก

8 ชั่วโมงที่สาม: พักผ่อนให้เพียงพอ (Live Well) เป็นช่วงเวลาสำหรับการพักผ่อนและการนอน เพราะสุขภาพคนเราจะดีได้ ต้องมีการนอนหลับให้เพียงพอไม่น้อยกว่า 7 – 8 ชั่วโมง การนอนที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายจะส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพดีทั้งในแง่ของการฟื้นฟูพละกำลัง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ โดยเฉพาะในเรื่องการทำงานของฮอร์โมนที่จะควบคุมการทำงานของร่างกาย และยังช่วยในแง่ของการเผาผลาญพลังงานที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับอีกด้วย

สูตรการบริหารเวลา “8:8:8” จะช่วยให้เราจัดสรรเวลาในด้านต่าง ๆ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถที่จะยืดหยุ่นเวลาได้ตามไลฟ์สไตล์ของเรา ซึ่งทางที่ดีที่สุดควรให้แต่ละด้านมีเวลาเท่า ๆ กัน และเมื่อเราจัดการเวลาได้ดีแล้ว ชีวิตของเราก็จะสมดุล


HR 4.0 กับความท้าทายที่ต้องเรียนรู้

หลายคนต้องเคยได้ยินมาแล้วว่า ในโลกยุค Disruptive World จะมีคนจำนวนมากที่ถูกหุ่นยนต์เข้ามาแทนที่ในการทำงาน หลาย ๆ อาชีพจะหมดไป ตัวอย่างเช่น อาลีบาบา (Alibaba)เริ่มมีการพัฒนาและทดลองระบบสมองกล Artificial Intelligence (AI) ในวงการแพทย์

ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ก็ถึงเวลาที่ต้องเพิ่มศักยภาพและใช้นวัตกรรมเพื่อต่อยอดการดำเนินธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ เอสอีเอซี (SEAC) ศูนย์พัฒนาผู้นำ และผู้บริหารระดับสูง เปิดเผยว่า หากเปรียบเทียบการทำการศึก “ฝ่ายทรัพยากรบุคคล” (Human Resources) เป็นเหมือนแม่ทัพเงาขององค์กร  ที่ต้งเก่งทั้งบุ๋น และบู๊ เพราะเป็นหน้าด่านสำคัญในการสรรหาบุคคลากรเข้าสู่องค์กร

ดังนั้น ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมกับความเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค 4.0 ให้ทันท่วงที ต้องเสริมศักยภาพใหม่ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ และสร้างกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดใจคนกลุ่มใหม่ ๆ เข้าสู่องค์กร

ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ในหลายองค์กรต่างให้ความคิดเห็นที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับองค์ความรู้ในการยกระดับ และพัฒนาบุคลากรด้านทรัพยากรบุคคล ซึ่งสามารถสรุปออกมาได้เป็น 4 ทักษะ ดังนี้

1. Business Acumen

ทุกวันนี้เศรษฐกิจมีความเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว กลุ่มลูกค้าเปลี่ยนพฤติกรรม และความสนใจตลอดเวลา องค์กรต้องทำงานด้วยความเร็ว ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ยุคใหม่ ก็ต้องอ่านเกมส์ทั้งในเรื่องบุคลากรและวัตถุประสงค์ขององค์กรได้อย่างชัดเจน

ซึ่งนับเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้บุคลากรในองค์กรต้องเสริมทักษะ สร้างความหลากหลาย สามารถปรับเปลี่ยนและเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ นอกจากนี้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ก็ต้องปรับเปลี่ยนการคัดสรรคอร์สการเรียนรู้เพื่อเสริมบุคลากรให้แข็งแกร่งให้เหมาะสมกับเงื่อนไขที่เปลี่ยนไปนี้

“ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ต้องมีปฏิภาณทางธุรกิจ ต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ด้านการดำเนินธุรกิจขององค์กร และต้องปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง”

2. HR Technology and Data Analytics

การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อค้นหาและเข้าถึงข้อมูลเฉพาะบนโลกออนไลน์นับมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ต้องเปลี่ยนตัวเองเป็นคลังค้นหาข้อมูลที่อัดแน่นด้วยข้อมูลหลากหลายมิติ ต้องทำงานจากข้อมูลจริงของทั้งพนักงาน และสถานการณ์แวดล้อม เพื่อเข้าถึงความต้องการของบุคลากรในองค์กร จัดข้อมูลเพื่อให้ทีมผู้บริหารแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งใช้เครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อให้บุคลากรสนุกกับการตอบคำถาม หรือง่ายต่อการเก็บข้อมูล นั่นแปลว่าองค์กรไม่สามารถจะลงทุนแค่กับเรื่องเทคโนโลยี แต่ต้องพัฒนาทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลให้กับฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ด้วย

“ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ต้องใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีให้ทันยุคเพื่อแสวงหาความต้องการของบุคลากร ต้องอ่านข้อมูลและแปลความหมายได้อย่างถูกต้อง และครบสมบูรณ์”

3. Marketing Expertise 

จากกระแสโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ต้องเข้าใจสถานการณ์และความต้องการขององค์กร เพื่อที่จะคัดสรรและปรับเปลี่ยนรูปแบบการคัดสรรบุคลากรที่จะเข้าร่วมงานกับองค์กรได้อย่างเหมาะสม ต้องดูแลพนักงาน สื่อสารกับพนักงานเปรียบเสมือนลูกค้า เข้าใจ เป็นมิตร ใกล้ชิด เพื่อจะได้ศึกษา รับรู้พฤติกรรม ความต้องการ และสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานในการขับเคลื่อนองค์กรตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้ายของการทำงานในรูปแบบเดียวกับที่ฝ่ายการตลาดใช้เครื่องมือมาร์เก็ตติ้งในการดึงดูดลูกค้า

“ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ต้องขายของให้เป็น”

4. HR Agility

สภาวะเศรษฐกิจที่เคลื่อนไหวรุนแรงและรวดเร็ว นับเป็นความท้าทายครั้งสำคัญสำหรับทุกองค์กร ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ก็ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเพิ่มทักษะใหม่ ๆ ในการทำงานหรือสามารถทำงานมากกว่าที่ตนเองรับผิดชอบได้ เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับบุคลากรคนอื่น ๆ เกิดการเรียนรู้และเสริมทักษะใหม่ ๆ ให้ได้มากที่สุด

“ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ต้องพร้อมปรับตัว และสร้างความคล่องตัวให้ได้มากที่สุด”

จะเห็นได้ว่าฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) เปรียบเสมือนฟันเฟืองสำคัญในการติดต่อทั้งภายนอกและภายในองค์กรย่อมต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว รวมทั้งติดองค์ความรู้ เสริมทักษะให้ครบเพื่อเป็นขุมพลังสำคัญให้กับองค์กรต่อไป


7 ทักษะสำคัญในการเป็นพนักงานขาย

91% ของยอดขายทั่วโลกทำผ่านโทรศัพท์

80% ของรายได้บริษัทมาจากฝ่ายขาย

ในแต่ละปีบริษัทมักสูญเสียลูกค้า 10%-30%

มีเพียง 2% ของยอดขายที่เกิดขึ้นจากการเข้าพบผู้มุ่งหวังครั้งแรก 

18% ของยอดขายมักล้มเหลวในขั้นตอนปิดการขาย

47% ของลูกค้าเคยซื้อผลิตภัณฑ์/บริการแม้ว่าพวกเขาจะได้รับบริการจากผู้ขายที่ไม่ดี

63% ของผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์/บริการจะไม่ซื้ออย่างน้อย 3 เดือน

20% ของผู้มุ่งหวังจะใช้เวลามากกว่า 1 ปีในการซื้อหลังจากการติดต่อครั้งแรก!

มีเพียง 20% ของผู้มุ่งหวังที่ได้รับการโทรติดตาม ส่วนอีก 80% หายไป

 

7 ทักษะสำคัญในการเป็นพนักงานขาย

1. การเตรียมข้อมูลก่อนพบลูกค้า

ก่อนที่จะเข้าพบลูกค้า เราจะต้องทำค้นหาข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับลูกค้า ธุรกิจของลูกค้า เพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ ที่หามาได้จัดทำเป็นแผนการดำเนินงานในการเข้าพบลูกค้า

2. การปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า/ผู้มุ่งหวัง

การมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าที่ดีจะสร้างความผูกพันระยะยาวกับลูกค้าให้อยู่กับเรา ลูกค้าที่รักเราเป็นเสมือนกระบอกเสียงด้านบวกให้กับสินค้า/บริการ เป็นการเพิ่มยอดขายให้กับองค์กร

3. การนำเสนอข้อมูลบริษัท

การแนะนำตนเองและนำเสนอข้อมูลบริษัทให้ดูดี เป็นที่น่าจดจำ ย่อมทำให้ความรู้สึกของลูกค้านั้นเป็นบวก

4. การนำเสนอที่สร้างความเชื่อมั่น คล้อยตาม

การนำเสนอที่ทำให้ลูกค้ารู้รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้า/การบริการ ผลประโยชน์ และสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่จะได้รับ เป็นการนำเสนอที่สามารถสร้างความประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้พบ และสามารถเปลี่ยนภาพของเราจากพนักงานขายไปเป็นที่ปรึกษาที่นั่งในใจลูกค้าได้

5. การเปิด-ปิดการขาย

การเปิดการขายเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะถ้าเริ่มต้นไม่ดี ก็จบเห่ ฉะนั้น การเปิดการขายสำคัญพอ ๆ กับการปิดการขาย 

6. การเล่าเรื่อง

การเล่าเหมือนนิทานหรือนิยาย จะสร้างอารมณ์ร่วมให้ผู้ฟังสนใจ และจดจำเรื่องราวเหล่านั้นได้ดี การเล่าเรื่องเป็นอีกทักษะที่สำคัญเพื่อใช้ในการช่วยการนำเสนอเลยก็ว่าได้

7. การท้าทายที่สูงขึ้น/ยากขึ้น

พนักงานขายจำเป็นต้องมีความท้าทายที่สูงขึ้น/ยากขึ้น โดยตั้งจุดมุ่งหมายที่สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เพื่อเป็นแรงผลักดันไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่

 

สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ หลักสูตร : C0010 เทคนิคปิดการขายทันใจ กำไรทะลุเป้า (Sales Techniques)

Latest โพสต์ล่าสุด VIEW ALL

test2

ffff


บริหารเวลาง่าย ๆ ด้วย “Eisenhower Box”

รอบตัวในการทำงานนั้นมีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย จนหลาย ๆ ครั้งเราแทบไม่รู้ว่าเราควรที่จะลงมือแก้ปัญหาจากจุดไหนก่อนดี เพราะหลายครั้งเราไม่มีเวลามากพอที่จะจัดการปัญหาทุกอย่างได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลงมือจัดการปัญหาตามลำดับความสำคัญ เราขอนำเสนอเทคนิคการใช้ “Eisenhower Box” ซึ่งเครื่องมือนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการบริหารเวลาในการทำงานได้อีกด้วย

Eisenhower Box หรือ Eisenhower Matrix เป็นแนวคิดของ Dwight D. Eisenhower ประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา ที่ทำเพื่อจัดเรียงลำดับความสำคัญของการทำงานผ่านตารางทั้ง 4 ช่อง ได้แก่ งานด่วนและสำคัญ, งานไม่ด่วนแต่สำคัญ, งานด่วนแต่ไม่สำคัญ ไปจนถึงงานที่ไม่ด่วนและไม่สำคัญ

หัวใจหลักของการใช้ Eisenhower Box คือการแยกความหมายระหว่างด่วนกับสำคัญ ให้ออกเพื่อจะได้รู้ว่าหน้าที่ของเราที่ได้รับมอบหมายอยู่ควรจัดการอย่างไร

ด่วน คือ สิ่งที่ต้องการความสนใจทันที ต้องใช้เวลาตัดสินใจสั้น

สำคัญ คือ สิ่งที่ไม่ต้องรีบแต่ก็ต้องทำสักวันในอนาคต หรืองานที่อาศัยการวิเคราะห์และความละเอียด ทำแล้วมีผลระยะยาว รวมถึงเมื่อทำเสร็จเราจะรู้สึกประสบความสำเร็จ

หวังว่า Eisenhower Box ที่นำมาฝากกัน จะช่วยให้คุณสามารถจัดการตารางเวลาการทำงานและวางแผนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยลดภาระ และเพิ่มเวลาในชีวิตได้เยอะเลยทีเดียว

ขอบคุณข้อมูลจาก : 

https://leventje.nl/eisenhower-matrix/

https://www.spica.com/blog/the-eisenhower-matrix

 


5 วิธี เอาชนะ Monday Blues

พรุ่งนี้วันจันทร์!!!

 

เกลียดวันจัทร์ หรือ Monday Blues เป็นอาการที่แค่นึกถึงวันจันทร์ก็ไม่สบายใจแล้ว มีหลายคนเป็นโรคนี้กันจนแทบจะกลายเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมของหลายประเทศไปเลย

โรคเกลียดวันจันทร์ ไม่ต้องบำบัด แต่ต้องหาวิธีรับมือ

 

มาดู 5 วิธีรับมือกับอาการนี้กันดีกว่า

 

1. รีบเคลียร์งานบ้าน

คนทำงานส่วนใหญ่ มักทำงานบ้านวันเสาร์-อาทิตย์ แต่ทางที่ดี ควรรีบเคลียร์งานบ้านให้เสร็จตั้งแต่วันเสาร์ จะได้ใช้เวลาพักผ่อนแบบเต็มที่ในวันอาทิตย์ ชาร์จพลังให้พร้อมกับมาทำงานอย่างเต็มที่

 

2. ใช้วันหยุดพักผ่อนให้คุ้มค่าที่สุด

บางคนมักจะปล่อยวันหยุดไปกับการนอนตื่นสาย หรือปล่อยเวลาไปอย่างเปล่าประโยชน์ แต่สิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกคุ้มค่าในวันหยุดคือ การทำในสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่าสิ่งนั้นมีคุณค่า น่าจดจำ น่าประทับใจ และมีความสุขไปกับสิ่งเหล่านั้น เพราะฉะนั้นเราควรวางแผนวันหยุดของเราเอาไว้ ว่าจะทำอะไรบ้างในวันนั้น เช่น วางแผนการไปเที่ยวกับครอบครัว หรือเพื่อนๆ แต่ถ้าไม่อยากออกไปเสี่ยงภายนอกก็อาจจะนัดทานข้าว หรือหากิจกรรมสนุกๆ ทำร่วมกันภายในบ้านก็น่าสนใจค่ะ

 

3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในคืนวันอาทิตย์

การเข้านอนให้เร็วขึ้นในคืนวันอาทิตย์และนอนหลับให้เพียงพอ เพื่อให้ตื่นเช้าขึ้นมาด้วยความรู้สึกผ่อนคลาย เพราะหากได้พักผ่อนไม่กี่ชัวโมง แล้วต้องมาตื่นในขณะที่ร่างกายและสมองของคุณยังไม่พร้อม การเริ่มต้นวันจันทร์ของคุณอาจเต็มไปด้วยความรู้สึกเหนื่อยล้า หม่นหมอง อารมณ์ไม่ดี หรือขาดความกระตือรือร้นในการทำงานได้

 

4. ทำลิสต์สำหรับสัปดาห์ใหม่ที่จะมาถึง

สาเหตุที่หลายคนรู้สึกไม่ชอบวันจันทร์อาจเพราะว่าอะไรหลาย ๆ อย่างดูเร่งรีบไปหมด จนทำให้เกิดความรู้สึกด้านลบในการทำงาน โดยเฉพาะภาระงานที่ต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าคุณมีการวางแผนที่ดีจดสิ่งที่ต้องทำหรือเขียนแพลนเนอร์เอาไว้ ในแต่ละวันของสัปดาห์คุณต้องทำอะไรบ้าง หรือเคลียร์งานอะไรให้เสร็จ เขียนเดดไลน์ให้ชัดเจน จะช่วยให้คุณสามารถจัดระเบียบชีวิตได้ง่ายขึ้น

 

5. หาแรงบันดาลใจ

ลองหาแรงบันดาลใจในที่ทำงาน จะทำให้คุณมีความสุขมากขึ้น และทำให้วันทำงานของคุณกลายเป็นวันดี ๆ

 

ทั้งหมดนี้คิอ 5 วิธีการรับมือกับอาการเกลียดวันจันทร์ที่อาจจะช่วยให้ความรู้สึกที่ไม่ชอบนั้นลดลงไปได้บ้าง

 

ขอบคุณที่มา : https://varnam.my/featured/2022/55788/five-things-to-do-to-get-your-sundays-prepped-for-monday/