HIGHLIGHT ACTIVITIES




MY COURSE คอร์สล่าสุด VIEW ALL
FAVORITE COURSE คอร์สโปรด VIEW ALL
NEW COURSE คอร์สใหม่ VIEW ALL
การตระหนักรู้เรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับผู้ใช้งานระบบและผู้ดูแลระบบ

วัตถุประสงค์ 1. มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ IT อย่างถูกต้องปลอดภัย 2. มีความรู้ความเข้าใจในภัยคุกคามต่าง ๆ ในโลกของเทคโนโลยี 3. มีความรู้ความเข้าใจในแนวทางการป้องกันภัยคุกคามทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 4. มีความรู้ความเข้าใจในหน้าที่ของตนเองในการใช้งานเทคโนโลยี

การสร้าง Visual Report By Power BI Desktop

"Microsoft Power BI Desktop เป็นโปรแกรมจาก Microsoft ที่สามารถช่วยวิเคราะห์ หรือช่วยสรุปผลข้อมูลจำนวนมากได้ไม่จำกัด จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Excel File, Microsoft Access Database, SQL Server เป็นต้น และสามารถสร้างรูปแบบรายงานเชิงวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพหรือ Business Intelligence (BI) ที่เหมาะสำหรับนำมาสร้างรายงานในรูปแบบ Interactive ได้อย่างรวดเร็ว Power BI Desktop นั้นมีรูปแบบการนำเสนอข้อมูลของกราฟให้เลือกมากมาย สามารถนำไปใช้งานได้ในรูปแบบ Real Time โดยแสดงผลผ่านเว็บไซต์ และอุปกรณ์ Mobile หรือ Tablet ได้อีกด้วยทำให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว พร้อมในการวางแผนการทำงาน หรือกำหนดกลยุทธ์ และตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำในทางธุรกิจทำให้คุณนำเสนอได้อย่างมืออาชีพ

สร้างงานนำเสนอให้โดนใจหัวหน้างาน (Excel : PivotTable and PivotChart)

สามารถใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมากด้วย PivotTable ซึ่งได้เจาะลึกการใช้เครื่องมือที่มีใน Excel ในการวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจัดเรียง (Sort) การใช้ฟิลเตอร์ (Filter) ในการกรองข้อมูล การสรุปข้อมูลแบบมีเงื่อนไข (Conditional Formatting) การวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบแผนภูมิ (Charts) การสรุปข้อมูล (PivotTable) และตัวอย่างการใช้โปรแกรมในการวิเคราะห์ข้อมูล อันเป็นพื้นฐานแนวความคิดและความรู้ในการพัฒนาและออกแบบฐานข้อมูลทางธุรกิจ พร้อมวิธีการปรับแต่งตาราง PivotTable และ PivotChart ให้เหมาะสมกับประเภทงานที่ต้องการนำเสนอ


Recommend โพสต์แนะนำ VIEW ALL

6 แนวโน้มและการคาดการณ์ HR ในปี 2022 ที่ควรพิจารณา

ใกล้จะสิ้นปี 2021 แล้ว ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ผู้บริหารและฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะต้องเริ่มต้นเตรียมการสำหรับปี 2022 และปรับเป้าหมายภายในองค์กรให้สอดคล้องกับแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้น

จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้แทบทุกอุตสาหกรรมต้องปรับกลยุทธ์ใหม่เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง กระบวนทัศน์ในการทำงานขององค์กรต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงานอย่างกะทันหันและการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจ

มาดูแแนวโน้มและการคาดการณ์ สำคัญสำหรับปี 2022 กันว่า  HR จะต้องตั้งรับเรื่องอะไรกันบ้างในปีหน้า

1. ทำงานผ่านทางไกล หรือที่ไหนก็ได้

จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้บังคับให้องค์กรต่าง ๆ ต้องปรับมาใช้รูปแบบการทำงานโดยที่พนักงานต้องทำงานจากที่บ้าน (Work from home) การทำงานแบบทางไกล (Work Remoting) ดูเหมือนจะเป็นอนาคตของการทำงานในปีหน้าด้วย จากการสำรวจผู้บริษัทระดับสูง (C-suite) พบว่า “79% ของผู้บริษัทระดับสูง (C-suite) จะอนุญาตให้พนักงานแบ่งเวลาระหว่างการทำงานที่บริษัทกับที่บ้าน หากงานของพวกเขาเอื้ออำนวย” จุดประสงค์ก็เพื่อให้อำนาจแก่พนักงานและทำให้พวกเขามีส่วนร่วมแม้ในเวลาที่ยากลำบาก แทนที่จะมุ่งความสนใจไปที่สถานที่ทำงานของพนักงาน การทำงานแบบทางไกลจะยังคงเป็นหนึ่งในเทรนด์ HR ในปี 2565 อย่างแน่นอน

2. พัฒนาทักษะและความสามารถของพนักงานภายในองค์กร

การเพิ่มทักษะและความสามารถให้กับพนักงานถือเป็นหนึ่งในแนวโน้มสำคัญของ HR มาโดยตลอด ความต้องการนี้อาจจะมากขึ้นกว่าเดิม เพราะการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ทำให้ธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงาน แทนที่ผู้บริหารและฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะจ้างผู้มีความสามารถจากภายนอกเข้ามาช่วย กลับมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทักษะและเพิ่มความสามารถให้กับพนักงานที่มีอยู่แทน เพื่อให้เป็นไปตามกลยุทธ์ขององค์กร นี่จึงเป็นหนึ่งในแนวโน้มของ HR ทั่วโลกและจะคงอยู่ไปอีกนาน

3. เคลื่อนย้ายพนักงานที่มีความสามารถ

หนึ่งในแนวโน้ม HR ในปี 2022 คือการเคลื่อนย้ายพนักงานที่มีความสามารถภายในองค์กร การเคลื่อนย้ายภายในช่วยให้มั่นใจถึงการรักษาและการพัฒนาความเป็นผู้นำให้กับพนักงาน ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุน ลดเวลา และความพยายามในการว่าจ้างผู้มีความสามารถจากภายนอก

4. สุขภาพจิตและสุขภาพกายของพนักงานเป็นเรื่องสำคัญ

ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของ COVID-19 พนักงานต่างได้รับความกดดันอย่างไม่ต้องสงสัย สิ่งนี้ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพหลายประการแก่พนักงาน จากผลการวิจัยของ Global Wellness Institute ระบุว่า “65% ของบริษัทต่าง ๆ ใช้จ่ายไปกับการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจให้กับพนักงานของตนเพิ่มมากขึ้น” ซึ่งแนวโน้ม HR ทั่วโลกก็มีการสนับสนุนให้พนักงานดูแลสุขภาพของตนเอง ด้วยการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การขอคำปรึกษาด้านสุขภาพจิต และการปฏิบัติเพื่อสุขภาพด้านอื่น ๆ

5. สร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน

ในปี 2022 บริษัทต่าง ๆ จะมีพนักงานทำงานร่วมกันถึง 5 Gen. ตั้งแต่ Baby boomers ไปจนถึง Gen. Z การจัดการแรงงานจากหลายรุ่นและการลดความแตกต่างให้เหลือน้อยที่สุดจะเป็นหนึ่งในแนวโน้ม HR ในปี 2565 ที่โดดเด่น

จากรายงานของ Deloitte “มีเพียง 6% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่เชื่อว่าผู้บริหารของพวกเขาพร้อมที่จะเป็นผู้นำแรงงานจากหลายรุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ” กล่าวกันว่าคนใน Gen. Baby boomers มีความชำนาญด้านเทคโนโลยีน้อยกว่าและให้ความสำคัญกับโอกาสในการก้าวหน้าในอาชีพน้อยลง ในทางกลับกันคน Gen. Y และ Gen. Z มีแนวโน้มที่จะชอบบริษัทที่มีโอกาสเติบโตที่ดีกว่าและสภาพแวดล้อมการทำงานดิจิทัลมากกว่า ดังนั้นในปีหน้าการจัดการแรงงานที่มีความแตกต่างกันอาจเป็นเรื่องท้าทายสำหรับองค์กร การมีส่วนร่วมของผู้คน และการสนับสนุนให้มีปฏิสัมพันธ์บ่อยครั้งจึงเป็นวิธีในการจัดการพนักงานที่มีความแตกต่างให้ดีขึ้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ HR จำเป็นต้องเข้าใจพฤติกรรม ความคิด และความคาดหวังของพนักงานจากหลายรุ่น และจัดหาโซลูชันที่เหมาะสม

6. สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยจากภัยทางไซเบอร์

ตั้งแต่เกิดการระบาดของ COVID-19 ภัยคุกคามทางไซเบอร์ก็เพิ่มขึ้น ธุรกิจต่าง ๆ ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์เพราะรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป (Work form home) ฟิชชิง (Phishing) และมัลแวร์ (Malware) เป็นภัยคุกคามที่พบบ่อยที่สุด ดังนั้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและการใช้แนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ดี จึงเป็นหนึ่งในแนวโน้มสำคัญของ HR ในปี 2022 อย่างแน่นอน

 

ปี 2022 กำลังจะเริ่มต้น! เวลานี้จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับ HR ในการเตรียมพร้อมและเปิดรับแนวโน้ม HR ในอนาคตที่กำลังเกิดขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก : Future HR Trends 2022


เมื่อตกอยู่ในภาวะ “หมดไฟ” ควรทำอย่างไร?

คุณเคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่

- อยากเลี่ยงปัญหา

- เริ่มมองงานหรือคนอื่นในแง่ร้าย

- สงสัยความสามารถของตนเอง

- ผัดวันประกันพรุ่ง

- เริ่มมาทำงานสายบ่อยขึ้น

- คิดเรื่องลาออก 

อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณเริ่มเกิดภาวะหมดไฟ

หากคุณเกิดภาวะหมดไฟ เรามีวิธีรับมือเมื่อคุณอยู่ในอาการภาวะหมดไฟในการทำงานมาฝากกัน โดยอาจเริ่มจากปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต เช่น 

- ไม่ด่วนตัดสินคนอื่น ยอมรับความแตกต่างของคน และเปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่อาจไม่ตรงกัน

- แสวงหาความช่วยเหลือ และอาจหาที่ปรึกษา เพื่อคลายความเครียด

- ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์

- จัดระเบียบการทำงานให้ลุล่วงตามลำดับความสำคัญ

- หาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ

- หากิจกรรมผ่อนคลายทำในช่วงวันหยุด หรือลาพักร้อนเพื่อไปผ่อนคลายจากงานสักพัก

- ลดการสื่อสารในโลกโซเชียลลง เพราะการเล่นโซเชียลมาก ๆ ส่งผลให้เกิดความเครียดจากการรับข้อมูลข่าวสารที่มากเกินไป

ขอบคุณที่มาจาก : https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1385 


การประเมินสมรรถนะ (Competency Assessment) สำคัญกับคุณอย่างไร

หลายคนคงจะเคยได้ยินคำว่า “Competency” หรือ “สมรรถนะ” กันมาบ้าง แต่หลายคนก็ยังไม่เข้าใจคำนี้อย่างแท้จริง อันที่จริงแล้วคำนี้มีความสำคัญต่อทุกคน และเป็นสิ่งที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ต้องให้ความสำคัญ

Competency (สมรรถนะ) มาจากบทความวิชาการของ David C. McClelland นักจิตวิทยา มหาลัยฮาร์วาร์ด Competency หมายถึง บุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในบุคคลแต่ละคน ซึ่งสามารถผลักดันให้บุคคลแต่ละคนนั้น สร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีหรือตามเกณฑ์ที่กำหนดในงานที่ตนรับผิดชอบ

ปัจจุบันมีลงรายละเอียดคำว่า สมรรถนะ (Competency) คือ กลุ่มของคุณลักษณะใด ๆ ที่อยู่ภายในบุคคล ประกอบด้วย ความรู้ (Knowledge)  ทักษะ (Skills) และเจตคติ (Attitudes) ที่ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งจำเป็นและมีผลทำให้บุคคลนั้นปฎิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบได้ดียิ่งขึ้น และเหนือผู้อื่น หรือเหนือกว่าเกณฑ์รวมถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยสมรรถนะนั้นเกิดได้จาก

1. พรสวรรค์ที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด

2. ประสบการณ์การทำงานที่สั่งสมมา

3. การฝึกอบรมพัฒนาต่าง ๆ

ทำไมต้องประเมินสมรรถนะ (Competency Assessment) นั่นเป็นเพราะทุกคนมีความแตกต่างกัน เก่งในสไตล์ของตัวคุณเอง

ดังนั้นการประเมินสมรรถนะ (Competency Assessment) จะเป็นการประเมินว่าคุณมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงานให้บรรลุตามที่ได้รับมอบหมายหรือไม่ ซึ่งการประเมินจะช่วยให้คุณรู้ว่าควรปรับปรุงหรือพัฒนา (Competency Gap) ด้านใดบ้าง และอาจค้นพบสมรรถนะที่ซ่อนอยู่ ที่สามารถสนับสนุนให้เกิดประโยชน์ในอนาคตได้อีกด้วย

สมรรถนะ (Competency) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จได้อย่างไม่มีขีดจำกัด

ขอบคุณที่มาจาก : http://competency.rmutp.ac.th/wp-content/uploads/2011/01/aboutcompetency.pdf

Popular โพสต์สำคัญ VIEW ALL

เคล็ดลับเพื่อชีวิตที่สมดุล ด้วยสูตร “8:8:8"

เราทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่หลายคนมักบ่นว่าไม่มีเวลา! ทำงานไม่ทัน! มาบริการจัดการเวลาเพื่อสร้างสมดุลให้กับชีวิต เพราะชีวิตเราไม่ได้มีแต่งานเพียงอย่างเดียว มาแบ่งเวลาดูแลตัวเอง และคนที่เรารักด้วยสูตร “8:8:8” กัน

สูตร “8:8:8” เกิดขึ้นมานานนับร้อยปีแล้ว ตั้งแต่สมัยปี ค.ศ.1810 โดยผู้ที่คิดค้นหลักการนี้ขึ้นมาก็คือ โรเบริ์ต โอเวน (Robert Owen) นักเศรษฐศาสตร์และนักปฏิรูปทางสังคมชาวอังกฤษ ซึ่งกลายมาเป็นมาตรฐานของการสร้างสมดุลให้กับชีวิตตลอดจนการแบ่งเวลาในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมาจนถึงปัจจุบัน

สูตร “8:8:8” เป็นการแบ่งจำนวน 24 ชั่วโมงของ 1 วัน ออกเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กันคือ

8 ชั่วโมงแรก: อยู่กับงานให้เต็มที่ (Work Smart) เป็นช่วงเวลาที่เราใช้สำหรับการทำงาน ซึ่งในแต่ละวันเราควรตั้งเป้าหมายและจัดลำดับความสำคัญของงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและทำงานอย่างเต็มที่ แต่ก็ควรหาเวลาพักเบรกระหว่างทำงานด้วย เช่น 1 ชั่วโมง พัก 5 นาที ไปเข้าห้องน้ำ เดินเล่น ฟังเพลง เพื่อลดความเครียดในการทำงาน

8 ชั่วโมงที่สอง: ดูแลตัวเองและครอบครัว (Quality Time) เป็นช่วงเวลาที่เราจะได้ทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของตนเอง พูดคุยทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว ออกกำลังกาย ออกไปท่องเที่ยว พบปะเพื่อฝูง หรือทำงานอดิเรก

8 ชั่วโมงที่สาม: พักผ่อนให้เพียงพอ (Live Well) เป็นช่วงเวลาสำหรับการพักผ่อนและการนอน เพราะสุขภาพคนเราจะดีได้ ต้องมีการนอนหลับให้เพียงพอไม่น้อยกว่า 7 – 8 ชั่วโมง การนอนที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายจะส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพดีทั้งในแง่ของการฟื้นฟูพละกำลัง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ โดยเฉพาะในเรื่องการทำงานของฮอร์โมนที่จะควบคุมการทำงานของร่างกาย และยังช่วยในแง่ของการเผาผลาญพลังงานที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับอีกด้วย

สูตรการบริหารเวลา “8:8:8” จะช่วยให้เราจัดสรรเวลาในด้านต่าง ๆ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถที่จะยืดหยุ่นเวลาได้ตามไลฟ์สไตล์ของเรา ซึ่งทางที่ดีที่สุดควรให้แต่ละด้านมีเวลาเท่า ๆ กัน และเมื่อเราจัดการเวลาได้ดีแล้ว ชีวิตของเราก็จะสมดุล


7 ทักษะสำคัญในการเป็นพนักงานขาย

91% ของยอดขายทั่วโลกทำผ่านโทรศัพท์

80% ของรายได้บริษัทมาจากฝ่ายขาย

ในแต่ละปีบริษัทมักสูญเสียลูกค้า 10%-30%

มีเพียง 2% ของยอดขายที่เกิดขึ้นจากการเข้าพบผู้มุ่งหวังครั้งแรก 

18% ของยอดขายมักล้มเหลวในขั้นตอนปิดการขาย

47% ของลูกค้าเคยซื้อผลิตภัณฑ์/บริการแม้ว่าพวกเขาจะได้รับบริการจากผู้ขายที่ไม่ดี

63% ของผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์/บริการจะไม่ซื้ออย่างน้อย 3 เดือน

20% ของผู้มุ่งหวังจะใช้เวลามากกว่า 1 ปีในการซื้อหลังจากการติดต่อครั้งแรก!

มีเพียง 20% ของผู้มุ่งหวังที่ได้รับการโทรติดตาม ส่วนอีก 80% หายไป

 

7 ทักษะสำคัญในการเป็นพนักงานขาย

1. การเตรียมข้อมูลก่อนพบลูกค้า

ก่อนที่จะเข้าพบลูกค้า เราจะต้องทำค้นหาข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับลูกค้า ธุรกิจของลูกค้า เพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ ที่หามาได้จัดทำเป็นแผนการดำเนินงานในการเข้าพบลูกค้า

2. การปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า/ผู้มุ่งหวัง

การมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าที่ดีจะสร้างความผูกพันระยะยาวกับลูกค้าให้อยู่กับเรา ลูกค้าที่รักเราเป็นเสมือนกระบอกเสียงด้านบวกให้กับสินค้า/บริการ เป็นการเพิ่มยอดขายให้กับองค์กร

3. การนำเสนอข้อมูลบริษัท

การแนะนำตนเองและนำเสนอข้อมูลบริษัทให้ดูดี เป็นที่น่าจดจำ ย่อมทำให้ความรู้สึกของลูกค้านั้นเป็นบวก

4. การนำเสนอที่สร้างความเชื่อมั่น คล้อยตาม

การนำเสนอที่ทำให้ลูกค้ารู้รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้า/การบริการ ผลประโยชน์ และสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่จะได้รับ เป็นการนำเสนอที่สามารถสร้างความประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้พบ และสามารถเปลี่ยนภาพของเราจากพนักงานขายไปเป็นที่ปรึกษาที่นั่งในใจลูกค้าได้

5. การเปิด-ปิดการขาย

การเปิดการขายเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะถ้าเริ่มต้นไม่ดี ก็จบเห่ ฉะนั้น การเปิดการขายสำคัญพอ ๆ กับการปิดการขาย 

6. การเล่าเรื่อง

การเล่าเหมือนนิทานหรือนิยาย จะสร้างอารมณ์ร่วมให้ผู้ฟังสนใจ และจดจำเรื่องราวเหล่านั้นได้ดี การเล่าเรื่องเป็นอีกทักษะที่สำคัญเพื่อใช้ในการช่วยการนำเสนอเลยก็ว่าได้

7. การท้าทายที่สูงขึ้น/ยากขึ้น

พนักงานขายจำเป็นต้องมีความท้าทายที่สูงขึ้น/ยากขึ้น โดยตั้งจุดมุ่งหมายที่สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เพื่อเป็นแรงผลักดันไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่

 

สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ หลักสูตร : C0010 เทคนิคปิดการขายทันใจ กำไรทะลุเป้า (Sales Techniques)


กฎ 10 นาที พรีเซนต์งานให้ปัง

การพรีเซนต์งานเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะต่อให้คุณทำงานดีแค่ไหนแต่ไม่สามารถอธิบายหรือพรีเซนต์ให้หัวหน้าฟังหรือลูกค้ารู้ได้ว่าโปรเจคนี้เป็นอย่างไร ก็เป็นอันจบ!

แต่จะดีแค่ไหน ถ้าคุณพรีเซนต์ออกมาอย่างมือโปร ได้ใจทั้งหัวหน้าและลูกค้า

วันนี้ WISIMO มีเคล็บลับ “กฎ 10 นาที พรีเซนต์งานให้ปัง” มาฝากทุกคน

มารู้จักกฎ “กฎ 10 นาที” กันก่อน

เคยสังเกตรึเปล่า ว่าทุกครั้งที่นั่งประชุม หรือฟังการพรีเซนต์ คุณจะตั้งใจฟังสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้แค่ระยะหนึ่ง ก่อนจะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดู หรือเริ่มอยากจะวาดรูปเล่น 

จากผลการวิจัยทางจิตวิทยา เรื่องระดับความสนใจของผู้ฟังกับระยะเวลาในการนำเสนอ ของ Antony Jay and Ros Jay ในปี 1996 ที่ได้ทำการศึกษาการนำเสนอที่ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 40 นาที พบว่าช่วงเวลา 10 นาทีแรก ความสนใจของผู้ฟังจะอยู่ในระดับที่สูง

หลังจากนั้นระดับความสนใจจะลดลงมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งประมาณ 30 นาที ระดับความสนใจจะอยู่ในระดับต่ำสุด และจะเริ่มสูงขึ้นอีกครั้งเมื่อใกล้เวลา 5 นาทีสุดท้าย

ซึ่งสอดคล้องกับ John Medina นักอณูชีววิทยา จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ที่ได้อธิบายปรากฎการณ์นี้ ว่าเกิดจากนาฬิกาในร่างกายของเรา ที่กำหนดให้เรามีสมาธิเต็มที่ ได้ไม่เกิน 10 นาที จากนั้น ระดับความสนใจจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป

ผู้นำเสนอที่ดีจะต้องไม่ปล่อยให้กราฟความสนใจของผู้ฟังเกิดขึ้นแบบนี้ แต่จะต้องทำยังไง เพื่อดึงความสนใจของผู้ฟังให้ได้

มาดูเทคนิคที่จะช่วยให้คุณใช้ 10 นาทีนี้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกัน

1. กำหนดวัตถุประสงค์และวิเคราะห์ก่อนการนำเสนอ

ก่อนจะพรีเซนต์งานทุกครั้งคุณควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน วิเคราะห์เนื้อหาโดยการย่อยข้อมูลเป็นประเด็นสำคัญไม่เกิน 3 – 4 ประเด็น และวิเคราะห์ผู้ฟังเพื่อสร้างสื่อและวิธีนำเสนอที่เหมาะสม

2. วางโครงสร้างเนื้อหา 

การวางโครงสร้างเนื้อหาสามารถแบ่งอออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนเกริ่นนำ (Opening) ส่วนนี้มีความสำคัญอย่างมาก คุณจะต้องเปิดให้ดึงดูดความสนใจและทำให้ผู้ฟังเชื่อถือในตัวคุณ ด้วยหลักการง่าย ๆ คือ เร้าอารมณ์ ตรงประเด็น เน้นติดตาม ส่วนเนื้อหา (Body) เป็นส่วนที่เหมาะสำหรับการนำเสนอรายละเอียดต่าง ๆ ให้ผู้ฟังได้ทราบ แต่คุณควรระมัดระวังไม่ให้ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่าย และส่วนสรุป (Closing) ซึ่งถือเป็นโอกาสสุดท้ายที่คุณจะสร้างความจดจำ เน้นย้ำให้เห็นด้วย หรือสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นกับผู้ฟัง

ในการวางโครงสร้างเนื้อหาคุณอาจนำเทคนิคการเล่าเรื่องมาใช้ร่วมด้วย เพราะการพรีเซนต์งานด้วยข้อมูลหนัก ๆ หรืออัดแน่นด้วยตัวเลขทางสถิติอาจทำให้คุณดูมีความรู้ มีการเตรียมการมาอย่างดี แต่จะไม่มีใครจำในสิ่งที่คุณพูดได้ ในทางกลับกันการบอกเล่าเรื่องราวโดยการสื่อด้วยน้ำเสียงที่เข้าถึงอารมณ์ด้วยการเล่าเรื่องหรือการยกตัวอย่างง่าย ๆ จะทำให้ผู้ฟังเห็นภาพและจดจำได้ดีกว่า แต่ต้องเล่าให้สั้น กระชับ และตรงประเด็น ถ้าออกทะเลเมื่อไหร่ผู้ฟังก็อาจจะออกจากห้องไปด้วยเช่นกัน 

เมื่อคุณมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีเนื้อหาที่ย่อยข้อมูลเป็นประเด็นสำคัญไม่เกิน 3 – 4 ประเด็น มีวิเคราะห์ผู้ฟัง และมีการวางโครงสร้างเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว ก็ลองนำ “กฎ 10 นาที” มาปรับใช้กับการ    พรีเซนต์งานของคุณ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนไม่ควรพูดนานเกิน 10 นาที จากนั้นอาจเว้นด้วยการให้รับชมภาพประกอบ หรือวีดีโอ แล้วจึงนำเสนอเนื้อหาในส่วนถัดไป

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เป็นตัวช่วยให้คุณมีความกล้าพูดและพรีเซนท์งานไม่ติดขัดก็คือ “การซ้อมพูด” ไปก่อนนั่นเอง คนไหนที่ไม่มีความมั่นใจในการพูดต่อหัวหน้าหรือลูกค้า ลองซ้อมพูดหน้ากระจก หรือจำลองสถานการณ์ว่าตอนนี้คุณกำลังนำเสนองานอยู่ดู การเตรียมความพร้อมในการนำเสนอไปนั้น นอกจากจะช่วยให้คุณลดความประหม่าลงได้แล้ว ยังทำให้คุณแก้ไขเนื้อหาและสไตล์การพูดได้ดีมากขึ้นอีกด้วย

และทั้งหมดนี้คือ “กฎ 10 นาที” ที่จะช่วยให้คุณพรีเซนต์งานให้ปัง 

 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :

สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้จากหลักสูตร : C65001 ทักษะการนำเสนอสู่ความสำเร็จ (Presentation Skills)

 

 

Latest โพสต์ล่าสุด VIEW ALL

test2

ffff


บริหารเวลาง่าย ๆ ด้วย “Eisenhower Box”

รอบตัวในการทำงานนั้นมีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย จนหลาย ๆ ครั้งเราแทบไม่รู้ว่าเราควรที่จะลงมือแก้ปัญหาจากจุดไหนก่อนดี เพราะหลายครั้งเราไม่มีเวลามากพอที่จะจัดการปัญหาทุกอย่างได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลงมือจัดการปัญหาตามลำดับความสำคัญ เราขอนำเสนอเทคนิคการใช้ “Eisenhower Box” ซึ่งเครื่องมือนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการบริหารเวลาในการทำงานได้อีกด้วย

Eisenhower Box หรือ Eisenhower Matrix เป็นแนวคิดของ Dwight D. Eisenhower ประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา ที่ทำเพื่อจัดเรียงลำดับความสำคัญของการทำงานผ่านตารางทั้ง 4 ช่อง ได้แก่ งานด่วนและสำคัญ, งานไม่ด่วนแต่สำคัญ, งานด่วนแต่ไม่สำคัญ ไปจนถึงงานที่ไม่ด่วนและไม่สำคัญ

หัวใจหลักของการใช้ Eisenhower Box คือการแยกความหมายระหว่างด่วนกับสำคัญ ให้ออกเพื่อจะได้รู้ว่าหน้าที่ของเราที่ได้รับมอบหมายอยู่ควรจัดการอย่างไร

ด่วน คือ สิ่งที่ต้องการความสนใจทันที ต้องใช้เวลาตัดสินใจสั้น

สำคัญ คือ สิ่งที่ไม่ต้องรีบแต่ก็ต้องทำสักวันในอนาคต หรืองานที่อาศัยการวิเคราะห์และความละเอียด ทำแล้วมีผลระยะยาว รวมถึงเมื่อทำเสร็จเราจะรู้สึกประสบความสำเร็จ

หวังว่า Eisenhower Box ที่นำมาฝากกัน จะช่วยให้คุณสามารถจัดการตารางเวลาการทำงานและวางแผนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยลดภาระ และเพิ่มเวลาในชีวิตได้เยอะเลยทีเดียว

ขอบคุณข้อมูลจาก : 

https://leventje.nl/eisenhower-matrix/

https://www.spica.com/blog/the-eisenhower-matrix

 


5 วิธี เอาชนะ Monday Blues

พรุ่งนี้วันจันทร์!!!

 

เกลียดวันจัทร์ หรือ Monday Blues เป็นอาการที่แค่นึกถึงวันจันทร์ก็ไม่สบายใจแล้ว มีหลายคนเป็นโรคนี้กันจนแทบจะกลายเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมของหลายประเทศไปเลย

โรคเกลียดวันจันทร์ ไม่ต้องบำบัด แต่ต้องหาวิธีรับมือ

 

มาดู 5 วิธีรับมือกับอาการนี้กันดีกว่า

 

1. รีบเคลียร์งานบ้าน

คนทำงานส่วนใหญ่ มักทำงานบ้านวันเสาร์-อาทิตย์ แต่ทางที่ดี ควรรีบเคลียร์งานบ้านให้เสร็จตั้งแต่วันเสาร์ จะได้ใช้เวลาพักผ่อนแบบเต็มที่ในวันอาทิตย์ ชาร์จพลังให้พร้อมกับมาทำงานอย่างเต็มที่

 

2. ใช้วันหยุดพักผ่อนให้คุ้มค่าที่สุด

บางคนมักจะปล่อยวันหยุดไปกับการนอนตื่นสาย หรือปล่อยเวลาไปอย่างเปล่าประโยชน์ แต่สิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกคุ้มค่าในวันหยุดคือ การทำในสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่าสิ่งนั้นมีคุณค่า น่าจดจำ น่าประทับใจ และมีความสุขไปกับสิ่งเหล่านั้น เพราะฉะนั้นเราควรวางแผนวันหยุดของเราเอาไว้ ว่าจะทำอะไรบ้างในวันนั้น เช่น วางแผนการไปเที่ยวกับครอบครัว หรือเพื่อนๆ แต่ถ้าไม่อยากออกไปเสี่ยงภายนอกก็อาจจะนัดทานข้าว หรือหากิจกรรมสนุกๆ ทำร่วมกันภายในบ้านก็น่าสนใจค่ะ

 

3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในคืนวันอาทิตย์

การเข้านอนให้เร็วขึ้นในคืนวันอาทิตย์และนอนหลับให้เพียงพอ เพื่อให้ตื่นเช้าขึ้นมาด้วยความรู้สึกผ่อนคลาย เพราะหากได้พักผ่อนไม่กี่ชัวโมง แล้วต้องมาตื่นในขณะที่ร่างกายและสมองของคุณยังไม่พร้อม การเริ่มต้นวันจันทร์ของคุณอาจเต็มไปด้วยความรู้สึกเหนื่อยล้า หม่นหมอง อารมณ์ไม่ดี หรือขาดความกระตือรือร้นในการทำงานได้

 

4. ทำลิสต์สำหรับสัปดาห์ใหม่ที่จะมาถึง

สาเหตุที่หลายคนรู้สึกไม่ชอบวันจันทร์อาจเพราะว่าอะไรหลาย ๆ อย่างดูเร่งรีบไปหมด จนทำให้เกิดความรู้สึกด้านลบในการทำงาน โดยเฉพาะภาระงานที่ต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าคุณมีการวางแผนที่ดีจดสิ่งที่ต้องทำหรือเขียนแพลนเนอร์เอาไว้ ในแต่ละวันของสัปดาห์คุณต้องทำอะไรบ้าง หรือเคลียร์งานอะไรให้เสร็จ เขียนเดดไลน์ให้ชัดเจน จะช่วยให้คุณสามารถจัดระเบียบชีวิตได้ง่ายขึ้น

 

5. หาแรงบันดาลใจ

ลองหาแรงบันดาลใจในที่ทำงาน จะทำให้คุณมีความสุขมากขึ้น และทำให้วันทำงานของคุณกลายเป็นวันดี ๆ

 

ทั้งหมดนี้คิอ 5 วิธีการรับมือกับอาการเกลียดวันจันทร์ที่อาจจะช่วยให้ความรู้สึกที่ไม่ชอบนั้นลดลงไปได้บ้าง

 

ขอบคุณที่มา : https://varnam.my/featured/2022/55788/five-things-to-do-to-get-your-sundays-prepped-for-monday/